
การยื่นเรื่องราว 1. รับคำขอตามแบบ ฆษ.1 ที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตท้องที่ 2. ยื่นคำขอตามแบบ ฆษ.1 สถานที่ตำรวจท้องที่เพื่อให้คำเห็นชอบในคำขอ 3. นำคำขอที่มีความเห็นดังกล่าวมายื่นที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตท้องที่ |
หลักฐานที่ต้องใช้ 1. บัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนามาด้วย) 2. ใบอนุญาตให้มีเพื่อใช้ซึ่งเครื่องขยายเสียงและไมโครโฟน (ถ้ามี) 3. รายละเอียดและเครื่องขยายเสียงที่จะใช้ เช่น กำลังไฟฟ้าที่ใช้กำลังขยายเสียงจำนวน กิลังขับเสียงสำเนามาด้วย 4. แผนที่แสดงที่ตั้งที่จะใช้เครื่องขยายเสียง 5. หนังสือสัญญาให้ใช้สถานที่หรือสัญญาเช่า กรณีผู้ขออนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือสถานที่ที่ของอนุญาต |
สิ่งที่ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตาม ปฏิบัติตามระเบียบการยื่นคำร้องและการพิจารณาออกใบอนุญาตตาม พระราชบัญญัติควบคุมโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 เช่น ห้ามใช้เสียงโฆษณาในระยะใกล้กว่า 100 เมตร จากโรงพยาบาล วัด โรงเรียน ศาล เป็นต้น ต้องทำการโฆษณาโดยใช้ภาษาไทยและไม่ใช้เสียงดังเกินควร ฯลฯ |
หมายเหตุ 1. ใบอนุญาตโฆษณาที่ไม่เป็นการค้ามีอายุคราวละไม่เกิน 15 วัน 2. ใบอนุญาตโฆษณาที่ไม่เป็นการค้าแบบเคลื่อนที่มีอายุคราวละไม่เกิน 5 วัน 3. ใบอนุญาตโฆษณาที่เป็นการค้าแบบประจำที่ มีอายุคราวละไม่เกิน 15 วัน 4. กรณีโฆษณาที่เป็นการค้าแบบการค้าแบบเคลื่อนที่ข้ามเขตท้องที่ต้องยื่นแบบ ฆษ.1 |
เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการชำระเงิน 1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน - รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ 2. ภาษีป้าย - รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ 3. ภาษีบำรุงท้องที่ - เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 3.1 ใบเสร็จรับเงินการชำระภาษี ครั้งสุดท้ายของทุกรอบระยะเวลาภายใน 4 ปี ที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน หากยังไม่เคยได้รับการประเมินให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ 3.2 ใบแจ้งเตือนการชำระเงิน ที่ส่งไปตามที่อยู่ของผู้เสียภาษี 3.3 หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของที่ดิน |